มารู้จักแสงเหนือกัน (Aurora) แสงเหนือคือ?




ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ ปัจจุบัน ทัวร์ล่าแสงเหนือนั้นกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก (ทาง Happylongway ของเราก็จัดทัวร์ด้วยนะครับ ==>ทัวร์ล่าแสงเหนือ<==) กำลังเป็นทัวร์สุดฮอตไม่แพ้ที่ใดๆในโลก แต่หลายๆคน อาจจะไม่รู้ว่าไอ้แสงเขียวๆ ที่สวยงามอยู่กลางท้องฟ้า ท่ามกลางความมืดมิดที่ใครๆ ก็ต่างอยากได้ชม และเก็บภาพเป็นระลึกสักครี่งในชีวิต ดังนั้น Happylongway จึงขอนำความรู้นี้มาฝากทุกคนกันครับ

แสงเหนือ หรือ ออโรร่า (Aurora)  เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

ความหมายของชื่อแสงเหนือ แสงเหนือ ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642)

คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

แสงเหนือ-แสงใต้เกิดจากอะไร? ปรากฏการณ์แสงเหนือ แสงใต้ เกิดจากการชนกันระหว่างก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกกับอนุภาคไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อให้เกิดการระเบิดเป็นลำแสงสีต่าง ๆ กันออกไป ขึ้นอยู่กับแสงนั้นเกิดขึ้นในช่วงชั้นบรรยากาศไหน และเกิดจากก๊าซอะไร

เพราะในระดับความสูงที่เหนือชั้นบรรยากาศ 100 กิโลเมตรขึ้นไป จะประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ โดยในระดับความสูงเหนือชั้นบรรยากาศประมาณ 100-200 กิโลเมตร ช่วงนี้จะมีโมเลกุลออกซิเจนหนาแน่นมาก สามารถก่อให้เกิดแสงออโรร่าสีเขียวอมเหลือง ซึ่งเป็นแสงเหนือ แสงใต้ยอดนิยมที่มักจะได้เห็นกันบ่อย ๆ

ส่วนแสงเหนือสีแดงจะปรากฏในช่วงชั้นบรรยากาศที่สูงเกิน 200 กิโลเมตรขึ้นไป แต่แสงสีฟ้าและสีม่วงมักจะปรากฏที่ช่วงความสูงเหนือชั้นบรรยากาศในช่วงที่ต่ำกว่า 120 กิโลเมตร อันเป็นช่วงชั้นที่มีโมเลกุลของไนโตรเจนหนาแน่นกว่าออกซิเจน

เราจะพบแสงเหนือได้ในช่วงใด?
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเกิดแสงเหนือจะอยู่ในช่วงฤดูหนาวของทางขั้วโลก ซึ่งเป็นช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม มีนาคม และเมษายน นอกจากนี้หากได้ไปเยือนขั้วโลกในขณะที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไร้เมฆ มีความมืดมิดสนิท มีสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดมลพิษ และเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00-24.00 น. ก็จะยิ่งมีโอกาสในการเห็นแสงเหนือมากขึ้น

ทว่าหากใครต้องการความชัวร์ว่าอุตส่าห์เดินทางไปล่าแสงเหนือแล้วต้องไม่พลาดจะเก็บภาพเด็ด แนะนำให้ไปชมแสงเหนือในช่วงที่ผ่านวัฏจักรจุดสุริยะ (Sun Spot) มาแล้ว 2 วัน แต่อาจจะต้องรอกันนานนิดนึงเพราะวัฏจักรดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุก ๆ 11 ปี ซึ่งล่าสุดก็เพิ่งมีช่วงแสงเหนือพีค ๆ ไปเมื่อปี ค.ศ. 2013 คร่อมปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นช่วงที่แสงเหนือจะเกิดได้ชัดเจนที่สุด ก่อนจะค่อย ๆ ลดระดับแสงลงจนกว่าจะเปล่งแสงเจิดจ้าขึ้นมาอีกครั้งเมื่อครบรอบวัฏจักร 11 ปี

เราสามารถพบแสงเหนือได้ที่ประเทศใดบ้าง?

- ประเทศสวีเดน (SWEDEN)
- ประเทศรัสเซีย (RUSSIA)
- ประเทศไอซ์แลนด์ (ICELAND)
- ประเทศฟินแลนด์ (FINLAND)
- รัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา (ALASKA)
- ประเทศแคนนาดา (CANADA)
- ประเทศนอร์เวย์ (NORWAY)
- ประเทศกรีนแลนด์ (GREENLAND)

การไปไล่ล่าแสงเหนือ หรือการอยากพบกับแสงเหนือสักครั้งนั้นไม่ได้ง่ายดายนัก เพราะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดั้งนั้นใครอยากได้ยลโฉม ก็ต้องมีทั้งเวลา เงิน และโชคชะตาเลยทีเดียวครับ

 





แชร์ให้เพื่อน