เมื่อคราวใดที่มาเยือนอิตาลีแล้ว คงพลาดไม่ได้กับการมาเยี่ยมชม หอเอน แห่งเมืองปิซ่า เพื่อตามรอยอย่างภาพยนตร์ "หนีตามกาลิเลโอ" รวมถึงตามทฤษฏีกฏแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (ทัวร์อิตาลี)

หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa; อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร

หอเอนเมืองปิซา เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย จีโอแวนนี่ ดี สิโมน สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา

กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้

ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา

ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง

ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย



Happylongway ขอแนะนำอีกสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ในการทัวร์อิตาลี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี และเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพยนต์ชื่อดังมากมายในการสร้าง อาทิเช่น เกลดิเอเตอร์ (Gladiator ปี 2000) ที่มีฉากต่อสู้ ในสนามประลอง จะเป็นที่ใดไม่ได้นั่นคือ โคลอสเซียม นั่นเอง วันนี้เรามาทำความรู้จักกันในเชิงลึกดีกว่า

โคลอสเซียม (อังกฤษ: Colosseum), โคลิเซียม (อังกฤษ: Coliseum) หรือทวิอัฒจันทร์ฟลาเวียน (อังกฤษ: Flavian Amphitheatre; ละติน: Amphitheatrum Flavium; อิตาลี: Anfiteatro Flavio หรือ Colosseo) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี

ประวัติของโคลอสเซียม
โคลอสเซียม (Colosseum) นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของเวสปาเรียน จักรพรรดิโรม พระองค์เริ่มครองราชย์ในปี ค.ศ. 69 และด้วยความต้องการที่จะหล่อหลอมราชวงศ์ขึ้นใหม่สำหรับตระกูลของพระองค์ จึงริเริ่มการก่อสร้าง Mega Projectขึ้น และโคลอสเซียมก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น

และนี่ทำให้โคลอสเซียมเป็นสนามกีฬาของโรมที่ใหญ่ที่สุดและแพงที่สุดเท่าที่มีการสร้างขึ้น ด้วยทรัพย์สินตั้งแต่โต๊ะไปจนถึงเชิงเทียนทองคำแท้ที่โรมปล้นมาจากการยึดพระวิหารที่เยรูซาเลม มันจุผู้คนได้ราว 50,000 คน และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 80 เพื่อใช้แทนสนามกีฬาไม้ซึ่งถูกเผาไปในรัชสมัยของ จักรพรรดิเนโรด้วย

โคลอสเซียม เปิดใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 80 สมัยจักรพรรดิติตุส ซึ่งในปีดังกล่าวสนามยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อเปิดสนามแข่งขันกีฬาต่างๆ ทั้งเกลดิเอเตอร์สู้กันเอง โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน หรือสู้กับสัตว์ป่า อาทิ สิงโต เสือ และช้าง เป็นต้น โดยมีชีวิตเป็นเดิมพันเช่นกัน และบางทีอาจจะมีแสดงการต่อสู้ระหว่างสัตว์ป่าด้วยกันเอง เช่น เสือสู้กับสิงโต กระทิงสู้กับหมี ฯลฯ เรียกว่าสมัยนั้นมีอะไรที่ต่อสู้กันได้ ไม่พ้นถูกจับให้มาประลองยังที่ โคลอสเซียม อย่างแน่นอน

แต่อย่างไรก็ตามเกมต่อสู้ระหว่าง เกลดิเอเตอร์ ยังคงเป็นกีฬายอดฮิตที่สุดของผู้ชมชาวโรมันในสมัยนั้น จากหลักฐานบ่งบอกได้ว่า การต่อสู้ประเภทนี้มีมาก่อนการสร้างโคลอสเซียมเสียอีก แต่ในสมัยต่อมาจึงการพัฒนากฏ กติกา ต่างๆ แปลกใหม่ขึ้นมา เพื่อเพิ่มความเร้าใจให้กับคนดูนั่นเอง

การบูรณะโคลอสเซียม
จากภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวหลายครั้ง และภาวะสงคราม งานบูรณะซ่อมแซมจึงเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 217 แต่ก็ถูกทอดทิ้งในเวลาต่อมา หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของอิตาลี ต่อมา โป๊ปเกรกอเรียส แมกนุส องค์ประมุขคริสตจักรคาทอลิก ในช่วงปี ค.ศ. 590-604 ได้ทำการบูรณะ และเปลี่ยน โลอสเซียม ให้เป็นโบสถ์ สนามประลองยุทธ์อันเลื่องชื่อ จึงกลายเป็นโบสถ์ตั้งแต่นั้นมา จนถึงยุคนโปเลียนขึ้นครองราชย์ ระหว่างปี 1809-1815 โคลอสเซียม ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดอายุกว่า 1,900 ปี

ล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 1992 ธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ให้งบประมาณบูรณะ โคลอสเซียม ครั้งใหญ่ แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2003